บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2008

จับผิดกูเกิล

รูปภาพ
ใช้อยู่ประจำแต่ไม่เคยสังเกต... ผิดตรงไหน? หาดูซิ

Windows XPE

รูปภาพ
วันนี้น้องสาว หอบเอาพีซี มาหา น้ำหูน้ำตาไหล บอกพี่ช่วยหน่อย จะเสียชีวิตหรือจะรอดชีวิตก็ เครื่องนี้แหละ (น้องสาวเป็นพยาบาล อยู่อนามัย ไอ้เจ้าเครื่องนี่เก็บข้อมูลทุกอย่างของคนไข้) ด้วยความที่เป็นคนรักน้องมาก (อ้วกกกกก) ก็รีบกุลีกุจอ เช็คเครื่องให้ อุแม่เจ้า พาร์ติชันพัง เจ้าน้องสาวตัวดีเร่งอีกพี่มันพังแล้วจะทำไง ช่วยทีนะช่วยที ไอ้เราเห็นแล้วก็สงสาร ครั้นจะถอด เอาฮาร์ดไดรฟ์ ออกมาก็ไม่มีเครื่องพีซีอีกนั่นแหละ (ปัจจุบันใช้แล็ปท็อปซึ่งติด OpenSuSE ครับ) คิดได้ว่า ครูมนตรี เคยพูดถึง WinPE เลยค้นหาดูในเน็ต อ่าฮ้า ลองดู... ไม่บอกนะครับว่าเอาไอ้เจ้าตัวนี้มาจากไหน เครื่องมือช่วยชีวิตแบบนี้ถามช่างซ่อมคอม ทุกร้านรู้จักหมดแน่นอน ว่าแล้วก็ต่อเน็ต โหลดออกมาใช้เวลาชั่วโมงกว่า เสร็จแล้วก็เขียนลงแผ่น พอบูตเครื่องจากแผ่น ก็จัดการ เปิดโปรแกรมเพื่อใช้ซ่อมทันที โปรแกรมที่เกี่ยวกับ พาร์ติชัน ของ Windows XPE มีหลายตัว แต่เลือกใช้ Acronis Disk Director suite ใครที่มีปัญหาแบบเดียวกันก็ลองทำดูได้ครับ ๑. น่าตาโปรแกรม จะพบว่าตอนนี้ Drive C มี 0 byte สำหรับ free space (ซึ่งเป็นปัญหาอยู่) ๒.เลือกไดรฟ์ที่ต้องการซ่อม

ฉันจะค้น!!!

รูปภาพ
เครียดจากงานตลอดสัปดาห์ พยายามเร่งให้เสร็จก่อนเปิดภาคเรียน ให้มากที่สุด เพราะคิดว่าเปิดเทอมคงไม่มีเวลาเป็นกอบเป็นกำขนาดนี้ ไปเจอภาพนี้เข้า ยิ้มได้เลยนะ เลยได้ตามไปเก็บอันนี้มาฝาก http://www.catb.org/~esr/faqs/smart-questions.html เวอร์ชันภาษาไทยทีม ทะเล แปลไว้ที่นี่ http://wiki.opentle.org/Smart-questions

No ip No problem

รูปภาพ
ประโยชน์จากการท่องเน็ต ทำให้เราได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ เสมอ ๆ วันนี้มาทดลองทำอะไรเล่นสนุก ๆ กันครับ... หลายคนคงรู้จัก no-ip ไปแล้วแต่หลายคนยังไม่รู้จัก.... ไม่เป็นไรเดี๋ยวผมจะค่อย ๆ เล่าให้ฟังครับ no-ip เป็นบริการ dynamic ip อิสระให้แก่สมาชิก ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับ dynamic ip อีกคำที่ต้องรู้คือ static ip ... ครับ ชื่อของมันก็บอกอยู่แล้ว ว่าเป็น ip แบบคงที่ ว่ากันเรื่อง ip นี่คงยาว แต่ผมขอสรุปสั้น ๆ เลยละกันว่าไอ้เจ้า static ip เอาไปใช้ในการสร้าง host หรือ website ครับ นั่นคือ ใครที่อยากได้ หรืออยากทำ host เอง จะต้องมี static ip เพื่อใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งบนเว็ปไซต์ พูดแล้วอาจมีงง สรุปสั้น ๆ เลยว่าใครไม่มี static ip ก็ตั้งเว็ปไซต์ไม่ได้...ว่างั้นดีกว่านะ คนธรรมดาอย่างเรา ๆ หากอยากได้ static ip ก็ไปคุยกับองค์การโทรศัพท์ เขาจะแจ้งให้เราทราบว่าตำแหน่งหรือสถานที่ที่เราอยู่มีบริการ static ip หรือเปล่า หรือหากอยู่บ้านนอก อีกบริการหนึ่งก็คือ ip-star ซึ่งก็มีบริการ static ip เช่นเดียวกัน สรุปแล้ว ทำเลที่ตั้งไม่เกี่ยวครับ อยู่ที่ไหนก็มี static ip ได้ อ่า ฮ้า เจ๋ง งั้นต

แปลไทยภาคสอง

รูปภาพ
หลังจากแปล OpenSuSE ได้สามไฟล์ งานต่าง ๆ เริ่มสะดวกและเร็วขึ้นมาก การใช้เครื่องมือแปลเริ่มคล่อง แต่ก็ไม่วายต้องเสาะแสวงหา ความท้าทาย ความสบาย และมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น ความลำบากของการแปลส่วนหนึ่งเกิดจากคำศัพท์ ทั้งศัพท์พื้นฐานและศัพท์เฉพาะ เนื่องจากยังเป็นมือใหม่ในการแปลเลยต้องเปิดเครื่องมือช่วยแปล ไม่ว่าจะเป็น stardict , longdo web , http://www.opentle.org/ossglossary/ หรือแม้แต่ http://www.opentle.org/osscorpus/ ซึ่งหากดูจากเครื่องมือแล้ว สำหรับมือใหม่ก็นับว่าสยองเอาการทีเดียว เอาหละ ไหน ๆ ก็ลุยมาแล้ว เรามาทำอะไรให้ชีวิตง่ายขึ้นดีกว่า ก็เจ้า KBabel นี่หล่ะ เอามันมาทำให้เกิดประโยชน์เต็มที่ มาลุยกันเลยครับ ๑. ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด po file ของ KDE ที่ชาวบ้านเขาแปลไว้แล้ว ตามนี้เลย http://techbase.kde.org/Development/Tutorials/Localization/Building_KDE%27s_l10n_Module#Step_2:_l10n ๒. เนื่องจากไม่มีใครสอน แต่ใช้วิธีดำดินถึงมีเว็ป http://kbabel.kde.org/ คู่มือภาษาไทยก็ไม่มี ดังนั้นอย่าถือสาหากข้าพเจ้าพาหลงทาง ๓. ต่อกันดีกว่า เมื่อเปิด KBabel ขึ้นมาจะพบว่าส่วนของ Search ว่างเปล่า

School Map prototype III

รูปภาพ
หลบจากการแปลไทยบน OpenSuSE มาหนึ่งวันเพื่อเขียนงานต่อ... หลังจากทำตัวต้นแบบรุ่นที่ ๒ เรียบร้อยแล้ว กลับมานั่งคิดว่าแล้วทีมงานจะใช้ ExtJS เป็นหรือเปล่า ในที่สุดก็ปรับไปใช้ mootools เนื่องจากใช้งานง่ายกว่ามาก อย่างน้อย ๆ ทีมงานน่าจะเรียนรู้ได้เร็ว (หากยังไม่เคยลอง) นอกจากนี้ได้ทำตัว wrap เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้ร่วมกัน จากนี้ไปก็รอเพียงข้อมูล (ที่ต้องประชุมร่วมกันอีก ๔ ครั้ง) ตอนนี้ติดปัญหาเรื่องเดียว คือ การเพิ่มความสามารถแสดงสถิติในรูปของ chart แบบเดียวกับ google chart โดยส่งการประมวลผลแบบ real time ปัญหาที่ว่าคือสระของ flash chart หายบนระบบปฏิบัติการ Linux (OpenSuSE) นอกนั้นก็ดูเรียบร้อยดี... (บน OpenSuSE สระบนจะหายไปหมด คิดว่าน่าจะเป็นเพราะฟอนต์) ใช้ Safari และ Internet Explorer บน Windows ไม่มีปัญหา (อีกชาร์ตหนึ่งบน Linux ปัญหาเดียวกัน) (บน Windows กลับไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน) อย่างไรก็แล้วแต่คงต้องหาตัวช่วย เรื่องการฝังฟอนต์ลงบนแฟลชเลย ไม่น่าจะยากสำหรับทีมงานเรา :)

แปลไทย

รูปภาพ
วันนี้เพิ่งจะมีโอกาสเปิดเมล์ ได้รับข้อความตอบจากคุณ donga เรื่อง การแปลภาษาไทยบน OpenSuSE โดยโฟกัสไปที่ KDE เลยเอาวิธีการแปลภาษามาเล่าสู่กันฟัง ผมนำตัวอย่างการแปล OpenSuSE มาเล่าก็แล้วกันนะครับ จะได้เห็นภาพตัวอย่างด้วย... ๑. ก่อนอื่นเริ่มจากไปเอาไฟล์ต้นฉบับที่เขาเรียกว่า po ไฟล์มาก่อนทั้งนี้ต้องหาแหล่งข้อมูลเอง ตัวอย่าง OpenSuSE ก็ไปเอามาจาก https://forgesvn1.novell.com/svn/suse-i18n/trunk/yast/th วิธีการนำไฟล์จาก URL ดังกล่าวมาไว้ในเครื่อง เราอาจใช้โปรแกรม client ต่าง ๆ ก็ได้ แต่โดยส่วนตัวแล้วใช้คอมมานด์ไลน์มากกว่า โดยสั่ง #svn checkout https://forgesvn1.novell.com/svn/suse-i18n/trunk/yast/th (ก่อนสั่งก็ให้สร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บไว้เสียก่อน) ๒. พอได้ไฟล์มาแล้วก็มาดูเครื่องมือ สำหรับผมใช้ kbabel โดยตัว kbabel มีสองส่วนคือ ส่วนบริหารจัดการ kbabel catalog manager ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการงานแปลทังหมดไม่ว่าจะเป็นด้านสถิติ การเรียกใช้ SVN หรือแม้กระทั่งการคอมไพล์ เหล่านี้ล้วนเป็นงานของ katablog ทั้งสิ้น จากภาพผมจะจัดการแปล you-server.th เพียงดับเบิลคลิกเท่านั้น ตัว cat

School map prototype II

รูปภาพ
เนื่องจากติดภารกิจที่โรงเรียน จึงไม่ได้ร่วมประชุมรับทราบนโยบายสักครั้ง จึงต้องทำตัวอย่างงานหลาย ๆ แบบ เพื่อเป็นตัวเลือก สำหรับใช้งานจริง วันนี้จับเอา Web OS ตัวเดิมออกมาปรับแต่ง ให้สามารถใช้ School mapping ได้ด้วย ซึ่งข้อดีคือ ผู้ใช้จะไม่มีความรู้สึกว่าเป็น Web application แต่มันออกไปทาง ระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งบน web มากกว่า ตัดตัวต้นแบบมาให้ดูครับ... (หน้าต่างล็อกอิน) (เมื่อคลิก School map จะได้หน้าตาประมาณนี้) (เราสามารถเรียงข้อมูลได้ตามต้องการ) (ผลจากการเรียง จำนวนนักเรียนชายจากมากไปน้อย) (สุดท้ายตัดหน้าต่างกำหนดค่าพื้นหลังของ OS ) เนื่องจากยังไม่เห็นข้อมูลว่า โจทย์ต้องการ report แบบไหนบ้าง เลยทำแค่ตัวต้นแบบไว้ก่อน ส่วนอื่นคงต้องพบปะคณะทำงานอีกครั้ง...