บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2009

Setting up D-Link wireless usb on Ubuntu

รูปภาพ
พอเข้าไปที่สำนักงานทีไรมักมีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังทุกที แต่ละเรื่องก็ล้วนแต่พาให้ปวดหัวเช่นกัน... เรื่องของเรื่อง คือ ห้อง KM ริเริ่มที่จะนำโปรแกรมโอเพ่นซอส โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการลินุกซ์ มาใช้ทดแทนระบบปฏิบัติการเดิม ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการที่ต้องคอยดูแลเครื่องอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าไวรัสตัวร้าย ที่แฝงมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไม่เว้นแต่ละวัน แต่ละตัวล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น ถ้าเป็นเครื่องสองเครื่องก็คงชิว ๆ แต่นี่มีเป็น 10 ก็เลยนำพาความลำบากมายังท่านเจ้าของห้อง ท่าน ศน.เหลิม ว่าแล้วก็หอบเอา desktop 3 เครื่องไปเรียนติดตั้งกับ ครูวิทยา ก็ OK นะ มันก็เกือบใช้ได้แล้วหละ ติดอยู่อย่างเดียว ก็คือการติดตั้ง wireless usb ที่ไปไม่เป็น (หรืออยากลองความรู้ครูป๋องหว่า 555) อันที่จริงผมไม่เคยลองติดตั้ง wireless usb เลย งานนี้ต้องถามพี่กูเขาหล่ะ รู้ไปหมดทุกเรื่อง ก่อนอื่นมาดูสเปกของเจ้าตัว d-link กันเสียหน่อย ตัวที่ผมเอามาทดสอบนี้เป็นรุ่น dwl-g132 แบบ USB อันที่จริงเขาแถมสายมาด้วย แต่ด้วยความรีบเลยหยิบมาไม่ครบ แต่ไม่เป็นไรครับ ไม่มีสายก็ต่อแบบ USB ทื่อ ๆ ก็ได้ ระบบปฏิ

jQuery let's try it !!!!

รูปภาพ
Ajax frame work แรกที่ผมเขียนเริ่มมาจาก xajax ตอนนั้นแบบบ้าพลังมาก ๆ ล่อมันทั้งเว็บเลย ตอนนี้ไม่รู้ว่ามันจะยังอยู่ไหม? อยากรู้ก็คลิก http://school.obec.go.th/klv ตัวที่สอง คือ prototype ลองแล้วเจ๋งมากแต่ ไม่ประทับใจ ถามว่าทำไมไม่ประทับใจ ? ไม่รู้ซิครับ ประมาณว่า "เราเลิกกันเถอะ เธอดีเกินไป...." (5555555) ตัวที่สาม ตัวนี้อยู่กับมันได้นานทีเดียวกับ mootools สาเหตุที่อยู่ได้นานเพราะมันตัวเล็ก ลูกเล่นขั้นเทพ API อ่านง่าย selector เจ๋งมาก ๆ อีกทั้งการประยุกต์ใช้ก็สะดวกสบาย เลยไม่มอง framework อื่น ๆ อีกเลย เรื่องมันเกิดตอนที่เริ่มศึกษา Air ครับ ไปดูตัวอย่างที่เขาแสดงให้ดูเห็นเขาใช้ jQuery บ่อยมาก ตามที่ผ่านตาผมน่าจะไม่ต่ำกว่า 70 % ใช้ตัวอย่างเป็น jQuery อดรนทนไม่ไหวครับ ในที่สุดก็ไปหยิบมาอ่านจนได้กับหนังสือเล่มนี้ และก็ได้ประจักษ์ชัดว่า ข้าพเจ้าได้พบกับว่าที่ กิ๊กใหม่แล้ว นั่นคือเจ้าตัวนี้แหละ jQuery หากจะถามว่าประทับใจอะไรเจ้าตัวนี้ คงยากเกินพรรณา สาธยายให้ได้หมด แต่ถ้าจะบอกว่า เอามาหนึ่งอย่างที่อยากโชว์ ก็ลองดู javascript ตัวนี้ดู $(function() { $('p a').css

คุณคือใครในแมตทริกซ์ ?

รูปภาพ
เล่นครั้งเดียว นะได้มาตามภาพเลย หุหุ อยากเล่นดูก็ไม่ยาก ก็แค่เลือกคำตอบจำคำถามที่เขาถาม แล้วก็ได้ออกมาเป็นคะแนน อยากเล่นแล้วใช้ไหม ? ไปกันเลย http://quizfarm.com/quizzes/new/AgentSmith/what-the-matrix-character-are-you/

Qt 4.5 มาแว้ว!!!!!

จั่วหัวมางี้ งงอีกแล้วซิ.... เพิ่มเติมหน่อยละกัน... Qt เป็นไลบรารี่สำหรับพัฒนา GUI แบบข้ามแพลตฟอร์มได้ หมายถึงว่า จะเอาไปใช้กับระบบปฏิบัติการไหนก็ได้ ไม่มีเกี่ยงงอน แต่เดิมนั้นออกแบบให้ใช้ได้เฉพาะกับ ภาษา C++ เท่านั้น แต่ในปัจจุบันมันมีความหลากหลายมากขึ้น สามารถใช้กับภาษาใด ๆ ก็ได้ เช่น C++ , Ruby , Python จั๋วหัวซะตื่นเต้นเลย มันก็แค่รีลิสใหม่อีกรีลิีสหนึ่งไม่ใช่เหรอ? ก็ไม่เชิงครับ ไอ้รีลิสมันแน่อยู่แล้ว มันใหม่มันก็แน่อยู่อีกนั่นแหละ แต่... ที่มันต่างก็คือ มันรีลิสภายใต้สัญญาอนุญาต LGPL 2.1 ซึ่งก็หมายความว่า เราสามารถใช้มันได้เท่าที่ใจปรารถนา จะปู้ยี่ปู้ยำอย่างไร ไม่มีใครว่า ขออย่างเดียว ให้เป็นไปตามสัญญาข้างต้นก็พอ แต่เดิมนั้น Qt สำหรับระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถใช้ได้ฟรี ๆ แต่บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ขายโค - ตะ - ระ แพง เลยไม่ค่อยมีใครเล่น มีเล่นกันเฉพาะพวกเงินหนาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Google Earth , Adobe lightroom , Skype เป็นต้น ในโทรศัพท์มือถือ ของ Nokia จะเห็นพาเหรตโปรแกรมใหม่ ๆ มาให้เลือกหาก็จุใจแน่นอน ( Nokia ซื้อ Qt แล้วเปิดฟรี ขออภัยไม่มีข่าวเก่า) เมื่อ Qt 4.5 ออกมาด้วยสัญญ

เขียนเล่น ๆ ก็เป็นงานตอน My first Air apps

รูปภาพ
ถ้าจะถามว่าในปี 2552 เทรนด์อะไรกำลังจะมาบ้าง ตามทัศนะของผมแล้วคงหนีไม่พ้น ตลาดของโทรศัพท์มือถือ ที่มีกระแสต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา สาเหตุเนื่องจากการต่อสู้กันอย่างดุเดือดของยักษ์ใหญ่ ต่างก็ลงสนามมือถือกันเพียบ ตลาดปีที่ผ่านมาเริ่มจาก Apple ส่ง i-phone ที่โดนใจแฟน ๆ เต็ม ๆ และสร้างกระแสได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จนเมื่อ Google เริ่มส่งระบบปฏิบัติการบนมือถือที่มีชื่อว่า android เข้ามาช่วงกลางปี ทำให้ผู้ครองตลาดเดิมต่าง หนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตามกัน มองในแง่ของผู้บริโภคอย่างเรา ๆ แล้วปล่อยให้ผู้ผลิตสู้กัน เราก็ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่พอรับได้ อีกสินค้าหนึ่งที่โหมกระหน่ำมาตั้งแต่ปีที่แล้วคือ ตลาด netbook ซึ่งแต่เดิมเป็นเครื่องหมายการค้าของ pson แต่มันจะไม่ถูกพูดถึงเลยหาก Asus ไม่ออกผลิตภัณฑ์ขนาดเล็กที่ชื่อ EeePC เข้ามาเขย่าตลาดจนทำให้ เกิดกระแสของการแข่งขันไปอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าผู้ผลิตหลายเจ้าจะไม่ได้ใช้ชื่อ netbook ในการทำตลาด แต่ก็ดูเหมือนผู้บริโภคก็ยังเรียกชื่อนี้จนติดปาก จนในที่สุดมีการร้องขอชื่อ netbook คืน ตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้านะครับ คงต้องรอกระบวนการซึ่งต้องบอกว่าอีกยาวไก

ปรับปรุงระบบ GIS

รูปภาพ
หลังจากที่ท่าน ศน.แดง ได้ทำการปักหมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา สุรินทร์ เขต 3 ไปเป็นอันมากแล้ว ก็พบว่า หมุดที่ปักอยู่มันเริ่มรกไปตามจำนวน ก็เลยได้โอกาสปรับปรุงระบบเพิ่มเติม เริ่มจากเอาคอนโทรลซูมภาพซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายออกไป ด้วยเหตุว่าออกแบบระบบให้ใช้เมาส์ในการซูมแผนที่ได้อยู่แล้ว โดยใช้ปุ่ม scroll ขึ้นลง อันนี้ใช้นิสัยส่วนตัวมาตัดสินล้วน ๆ เลยครับ 555 ต่อมาคือ เอามาตราส่วนบนแผนที่ออก อันนี้ไม่มีเหตุผล แค่อยากทำให้มันโล่งที่สุด ก็เท่านั้นเอง นอกจากนี้ยังขยายขนาดของแผนที่ให้ใหญ่ขึ้น ซูมภาพแผนที่ใกล้ขึ้น เพื่อให้หมุดอยู่ห่างกันอีก ดูโล่งสบายตากว่ากันแยะ สุดท้ายคือปรับเวลาของปอบอัป ให้ยาวขึ้นอีกนิดแต่ไม่มากนัก ใครไม่สังเกตก็คงไม่รู้ 555 หลังจากแอบไปดูระบบ GIS ของชาวบ้านชาวเมืองเขามีแต่ใช้ image Map เสียส่วนใหญ่ ของ สร. 3 น่าจะเป็นเขตเดียวที่ใช้ google map แต่คงต้องหาอีกทีว่า สพท.ไหนบ้างที่ใช้วิธีเดียวกัน จะได้ใช้ดูเป็นแบบเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยส่วนตัวแล้วมี TODO อยู่ในใจที่คิดจะทำช่วงเวลาปิดเทอมที่จะถึงก็คือ 1. เปลี่ยนสี หรือรูปแบบหมุดตามเครือข่ายการศึกษา 2. ระบบฟิลเตอร์ กรองขนาด